** ขั้นตอนการส่งเล่มสมบูรณ์

**ดาวน์โหลด** Template รูปเล่ม !! คลิก 

**กรุณาอ่านให้ครบทุกข้อ** มีข้อสงสัย ติดต่อสอบถาม : ได้ที่ Facebook - รายวิชาการศึกษาอิสระทางด้านคอมพิวเตอร์ (เอกเทศ)


อนุญาตให้ส่งเล่มสมบูรณ์ เฉพาะนศ.ที่ลงทะเบียนเรียนเท่านั้น !!!

1. ตรวจสอบรูปแบบจัดพิมพ์และรูปเล่ม
1.1 ตรวจสอบรูปแบบจัดพิมพ์ ถูกต้องตามคู่มือฯ บทที่ 6 รูปแบบการพิมพ์ คลิก
และตรวจสอบเพิ่มเติม ดังนี้
- ตรวจสอบสะกดคำ ให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ภาษาไทย/อังกฤษ
- จัดหน้าบทที่ 1 - 5
หน้าแรกของบท จัดกั้นหน้า 1.5 นิ้ว กั้นหลัง 1 นิ้ว  ขอบบน 2 นิ้ว ขอบล่าง 1 นิ้ว
หน้าที่ 2 เป็นต้นไป จัดกั้นหน้า 1.5 นิ้ว กั้นหลัง 1 นิ้ว  ขอบบน 1.5 นิ้ว ขอบล่าง 1 นิ้ว
- เลขหน้า จัดด้านบนกลาง ห่างขอบบน 1 นิ้ว เท่ากันทุกหน้า ยกเว้น หน้าแรกของแต่ละบท ไม่ใส่เลขหน้า
- เนื้อหาที่พิมพ์ ให้จัดรูปแบบกระจายข้อความ เพื่อให้ตัวอักษรชิดขอบซ้าย-ขวา เท่ากันทุกหน้า
- ตัวอักษร ใช้ฟอนต์ (Font) TH Sarabun PSK ขนาด 16 ยกเว้น บทที่และชื่อบทให้ใช้ขนาด 18 ตัวหนา
- เว้น 1 บรรทัด ก่อนขึ้นหัวข้อใหญ่ (ทศนิยม 1 ตำแหน่ง) และ ก่อน/หลังพิมพ์ ตารางหรือภาพ
- ใช้ตัวหนา เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ (ทศนิยม 1 ตำแหน่ง) เท่านั้น เช่น 1.1 ความสำคัญและที่มาของปัญหา
- เลขหัวข้อเนื้อหา ทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง เช่น 1.1.1.1 + เว้นช่องว่างระหว่างตัวเลขและอักษรให้เท่ากันทุกหน้า
- ลำดับหมายเลข หัวข้อ รูปภาพ ตาราง ให้เรียงลำดับถูกต้อง
- Bullet ให้ใช้เหมือนกันทั้งเอกสาร
- ตารางที่ ....... จัดชิดซ้าย อยู่ด้านบนตาราง คำว่า ตารางที่ 1.1 ใช้ตัวหนา และชื่อตาราง ใช้ตัวปกติ
- ภาพที่...... จัดกึ่งกลาง อยู่ด้านล่างภาพ คำว่า ภาพที่ 1.1 ใช้ตัวหนา และชื่อรูปภาพ ใช้ตัวปกติ
- ​ศัพท์อังกฤษ ให้พิมพ์ภาษาไทยแล้ววงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้าย เมื่อกล่าวถึงครั้งแรก จากนั้นเมื่อกล่าวในครั้งถัดไป
สามารถทับศัพท์อังกฤษได้ และให้ขึ้นต้นอักษรแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ (ยกเว้น คำเชื่อม/บุพบทใช้ตัวพิมพ์เล็ก) เช่น ฮาร์ดแวร์ (Hardtware) ซอฟต์แวร์ (Software) ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 7 (Windows 7) โปรแกรมอะโดบีโฟโต้ชอป ซีเอส 6 (Adobe Photoshop CS6) แอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Application on Android Operating System)
- คำย่ออังกฤษ ให้พิมพ์ชื่อเต็ม แล้วตามด้วยเครื่องหมาย : และคำย่อ จากนั้นเมื่อกล่าวในครั้งถัดไปสามารถใช้ตัวย่อได้
เช่น หน่วยความจำหลัก (Random Access Memory : RAM) จิกะเฮิรตซ์ (Gigahertz : GHz) จิกะไบต์ (Gigabyte : GB) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
- คำศัพท์ที่ใช้ เหมือนกันทั้งเล่ม เช่น ใช้อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างใดอย่างหนึ่ง
- คำภาษาไทย ไม่มีการใช้เครื่องหมายคอมม่า (Comma) ยกเว้น ภาษาอังกฤษ/ตัวเลข ใช้ Comma ได้ เช่น 1, 2, 3
1.2 ตรวจสอบรูปเล่ม ถูกต้องตามคู่มือฯ บทที่ 4 ส่วนประกอบของการศึกษาอิสระ คลิก
และตรวจสอบเพิ่มเติม ดังนี้
- เรียงหน้า เนื้อหาให้ถูกลำดับ มีปกหน้า ปกใน หน้าอนุมัติ กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1- 5 บรรณานุกรม ประวัติผู้วิจัย ภาคผนวก ก การติดตั้งโปรแกรม ภาคผนวก ข คู่มือการใช้งาน ภาคผนวก ค แบบฟอร์มหนังสือรับรองการใช้งาน (IS-3) ภาคผนวก ง แบบประเมินความพึงพอใจ
- ปกหน้า+ใน
ชื่อภาษาไทย สะกดถูกต้อง + รูปแบบ Font + ขนาดถูกต้อง
ชื่อภาษาอังกฤษะกดถูกต้อง + รูปแบบ Font + ขนาดถูกต้อง + ขึ้นต้นอักษรแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ (ยกเว้น คำเชื่อม/บุพบทใช้ตัวพิมพ์เล็ก) เช่น Mobile Application on Android Operating System
คุณวุฒิจบ ให้ถูกต้อง เช่น วิทยาศาสตรบัณฑิต/ครุศาสตรบัณฑิต (ไม่มีการันต์)
สาขาวิชาที่จบ ห้ถูกต้อง เช่น คอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การโปรแกรมและการรักษาความปลอดภัยบนเว็บ 
เดือน ปีพ.ศ. ระบุเดือนและปีพ.ศ.ที่ส่งรูปเล่มสมบูรณ์ !!!
- สันปก ชื่อหัวข้อและชื่อ-สกุล (สะกดถูกต้อง) + ปีพ.ศ.ที่ส่งเล่มสมบูรณ์ !!! (ตรงตามหน้าปก)
- หน้าอนุมัติ
ชื่อ+ยศกรรมการสอบ ให้ถูกต้อง เช่น อาจารย์/อาจารย์ ดร./ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คลิกดูชื่อ
ปีการศึกษา ระบุปีการศึกษาที่นศ.ลงทะเบียนเรียน
- กิตติกรรมประกาศ ใช้คำว่า การศึกษาอิสระนี้.... และลงท้ายผู้จัดทำไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ
- บทคัดย่อ เนื้อหากระชับ ถูกต้อง ชัดเจน (กล่าวถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ เช่น โปรแกรม/เทคนิคที่ใช้พัฒนาระบบ ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง วิธีการทดลอง วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ช่วงเวลาเก็บข้อมูล ระบุข้อค้นพบ/ผลการวิจัยที่โดดเด่น ข้อจำกัด/ข้อเสนอแนะ)
ปีการศึกษา ระบุปีการศึกษาที่นศ.ลงทะเบียนเรียน
- สารบัญ ตรวจสอบเลขหน้าว่าถูกต้องตรงกันกับหน้าเนื้อหา
1.3 ตรวจสอบเนื้อหา
- บทที่ 1
ความสำคัญและที่มา ที่มาของปัญหา/มีการใช้เทคนิคใดบ้างในปัจจุบัน+แนวทางแก้ไข ข้อมูลสถานประกอบการ (ถ้ามี)
วัตถุประสงค์และประโยชน์ ควรสอดคล้องกัน
ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน ควรเขียนเป็นขั้นตอนของตนเองและสอดคล้องทฤษฏี ไม่ใช่ลอกทฤษฏีมา
ขอบเขตการจัดทำ แยกเป็นด้านต่างๆ ให้เข้าใจง่าย + ครบถ้วน ไม่ยาก/ง่ายจนเกินไป + ตรงกับโปรแกรมที่พัฒนา
สถานที่ในการจัดทำ
สำนักหอสมุด/สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา/ภาควิชาคอมพิวเตอร์/สถานประกอบการให้ระบุที่อยู่
- บทที่ 2 เนื้อหาถูกต้อง + ภาพ/ตาราง/เนื้อหาให้เขียนระบุที่มาทุกครั้ง ตามคู่มือฯ บทที่ 5 การอ้างอิง คลิก
- บทที่ 3 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ใช้รูปแบบตามที่ภาควิชากำหนด
Hardware (ภาคผนวก ค ด้านฮาร์ดแวร์)
Database (ภาคผนวก ง ด้านฐานข้อมูล​) และตรวจสอบเพิ่ม ดังนี้
- Context Diagram, DFD, Attribute, Data dictionary, ต้องตรงกับโปรแกรม
- Data Flow Diagram (DFD) ให้นับจำนวนเส้น input - output ให้เท่ากันกับใน Context Diagram
- ชื่อ Process ให้เขียนด้วยคำกริยาเท่านั้น เช่น เข้าสู่ระบบ ลงทะเบียน ยืม-คืน ตั้งกระทู้ถาม-ตอบ
- Data Dict  หมายเลข + ชื่อ ตรงกับใน Data Flow Diagram + PK, FK ถูกต้อง
-
ชนิดแฟ้มข้อมูล Master File/Reference File/Transaction File ถูกต้อง
- ชนิดข้อมูล+
ขนาดไบต์ เช่น Int, Varchar, Datetime ให้ถูกต้องตามขนาดไบต์ MySQL
- ER-Diagram จำนวนความสัมพันธ์ ต้องครบ + ถูกต้อง + สอดคล้องกับ Data Dict

Animation (ภาคผนวก จ ด้านแอนิเมชั่น)
E-learning (ภาคผนวก ฉ ด้านสื่อการเรียนการสอน)
Mobile & OOP (ภาคผนวก ช ด้านระบบเชิงวัตถุ)
Game (ภาคผนวก ซ ด้านเกม)
- บทที่ 4 การออกแบบหน้าจอ/ผลการดำเนินงาน/ผลการศึกษา 
ใช้รูปแบบตามที่ภาควิชากำหนด สอดคล้องกับบทที่ 3 
ลำดับหน้าจอ + เทมเพลตออกแบบหน้าจอ ต้องตรงกับโปรแกรม (ถ้ามี) 
- บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา
อภิปรายผลการศึกษา ให้เห็นถึงการศึกษาว่ามีลักษณะ+สอดคล้องแนวคิด/ทฤษฏีที่อ้างอิงอย่างไร ปัญหา/ข้อสังเกตที่พบ
ปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินการศึกษาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุม/แก้ไขได้
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอสำหรับผู้พัฒนาต่อไป
สรุปผลการศึกษา สรุปสิ่งที่ศึกษามาแล้วพบอะไรบ้าง
- บรรณานุกรม มีผู้แต่งครบตามที่อ้างในทุกบท + เรียงตามชื่อ + ถูกต้องตามคู่มือการศึกษาอิสระฯ บทที่ 5 คลิก
- คู่มือใช้งาน ตรงกับโปรแกรมและรูปเล่ม + หากมีการเรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ ให้ระบุเวอร์ชันโปรแกรมที่ใช้ติดตั้ง


2. แก้ไขเอกสารและโปรแกรมให้ถูกต้องสมบูรณ์
2.1 แก้ไขตามข้อเสนอแนะกรรมการและแบบฟอร์มข้อเสนอแนะการศึกษาอิสระด้านคอมพิวเตอร์ (IS-2)
2.2 ต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการสอบ เซ็นต์ลงนามตรวจสอบความเรียบร้อย


3. นำเล่มเอกสารการศึกษาอิสระฯ ให้กรรมการสอบเซ็นลงนาม
ให้ครบทุกท่าน + ให้เรียบร้อย **ก่อนเข้าเล่ม** หรือ **หลังเข้าเล่ม** ตามกรรมการสอบเห็นสมควร
3.1 อาจารย์ที่ปรึกษาเซ็นต์ก่อนเป็นลำดับแรก (นัดหมายอาจารย์ทุกท่านล่วงหน้า เพราะแต่ละท่านมีภารกิจมาก)
3.2 กรรมการสอบท่านอื่นเซ็นต์เป็นลำดับถัดไป
3.3 หัวหน้าภาค เซ็นต์ลงนามเป็นลำดับสุดท้าย


4. การขอใช้งานฟรีเว็บโฮสติง (Web Hosting) มร.ชม. **เพื่อเผยแพร่ผลงานการศึกษาอิสระฯ / นำไปใช้งานจริง ** 
- ยื่นขอโฮสล่วงหน้าให้เรียบร้อย **ก่อนลงทะเบียนเรียน** หรือ ก่อนวันส่งเล่มสมบูรณ์ **อย่างน้อย 1 เดือน** 
4.1 เว็บโฮสติงฟรี ภาควิชาคอมพิวเตอร์  (เฉพาะนศ.ที่ได้รับอนุมัติสอบบทที่ 1-3) 
- ​คลิกขอโฮสติงได้ที่ http://istudy.cmru.ac.th/ เมนู "เว็บโฮสติง“ ซึ่งจะ Login ใช้งานได้ในวันถัดไป
- ​แนะนำให้ใช้โฮสติงจากภาควิชา **เป็นลำดับแรก** แทนการใช้โฮสติงภายนอกที่มีอายุใช้งานจำกัด เพื่อให้ผลงานของนศ.สามารถสืบค้นตัวอย่างผลงานได้เป็นระยะเวลานานกว่าใช้โฮสต์จากภายนอกที่มีอายุใช้งานจำกัด 
4.2 เว็บโฮสติงฟรี มร.ชม. จากสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา (เฉพาะนศ.ที่ยังไม่ได้สอบบท1-3) 
- ยื่นขอโฮสติง ได้ที่ 
http://www.network.cmru.ac.th หลังจากยื่นขอแล้วจะมีข้อมูลส่งเข้าในอีเมล์นักศึกษาเอง 
- สำหรับนศ.ที่ทำระบบเป็น Laravel Framework สามารถใช้ ้http://www.heroku.com 
4.3 หากเว็บโฮสติงฟรี มร.ชม.มีปัญหาไม่รองรับโปรแกรมหรือรันโค้ดโปรแกรมของนักศึกษาไม่ได้​ ​   
- ขอความกรุณานศ.ใช้โฮสติงจากภายนอก ที่หน่วยงานนำโปรแกรมไปใช้งานจริง และ **ต้องส่งหลักฐานอายุโฮสติง>=1 ปีนับจากวันที่ส่งเล่ม** ในวันส่งเล่มสมบูรณ์ด้วย
- ภาควิชาขออภัยในความไม่สะดวก สำหรับนศ.ที่ใช้โปรแกรมอื่น/เวอร์ชันใหม่ๆ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีบริการ


5. อัพโหลดไฟล์ลงในระบบการศึกษาอิสระฯ ที่ https://www.istudy.cmru.ac.th ดังนี้
5.1 ลิงค์ URL ที่เผยแพร่ผลงาน + นำไปใช้จริง ได้แก่
    5.1.1 โปรแกรม On-line/Off-line ที่ใช้งานด้วย Web Browser ต้องอัพโหลดขึ้น Server ใช้ได้จริง
-
โดยใช้ Web Hosting มร.ชม. / โฮสติ้งของหน่วยงานที่เซ็น is-3 ที่ต้องมีอายุใช้งานได้ >=1 ปี นับจากวันที่ส่งเล่ม
- แก้ไข Connect database ให้ไม่ติด Bug (อย่าใช้โค้ดเรียกใช้คำสั่ง MySQL + PHP เวอร์ชันเก่า จะเปิดเว็บไม่ได้)
- ห้ามใช้การ redirect url + ต้องส่งลิงค์ Url ที่สามารถเปิด index.html หรือ index.php ได้ 
ถ้าไม่ใช่ลิงค์ที่เปิดไฟล์ index ระบบเผยแพร่ผลงานจะจับภาพหน้าเว็บอัตโนมัติไม่ได้ (ดูตัวอย่าง error คลิก)
- ต้องมีข้อมูลติดต่อผู้พัฒนาระบบ       
   5.1.2 โปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ Web Browser / Mobile App / Hardware ต้องนำไฟล์ติดตั้งระบบไปขึ้นเว็บ
- โดยใช้ Web Hosting มร.ชม. /  โฮสติ้งของหน่วยงานที่เซ็น is-3  ที่ต้องมีอายุใช้งานได้ >=1 ปี  นับจากวันที่ส่งเล่ม
- ต้องมีลิงค์ให้ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งระบบ และ **ไฟล์ติดตั้งระบบนี้ ต้องไม่สามารถเรียกดู Source Code ได้**
(เพื่อป้องกันการคัดลอกผลงาน)
- ต้องมีภาพ Demo ใช้งาน + ข้อมูลติดต่อผู้พัฒนาระบบ
   5.1.3 การ์ตูนแอนิเมชัน  
- การเผยแพร่ **ให้ส่งลิงค์เรียกเปิดไฟล์** จาก ** Google drive เท่านั้น** **ไม่อนุญาตให้อัพไฟล์ขึ้น Youtube ฯลฯ**
- ต้องใส่เครดิตทุกส่วนที่นำภาพ เสียง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้อื่นมาใช้ และต้องแน่ใจว่าไม่มีลิขสิทธิ์  
- ตัวอย่าง https://drive.google.com/file/d/0B8LYljJkTlVUdDc0Y256cXczMXc/view
- ห้ามใช้ short url โดยเด็ดขาด เนื่องจาก เว็บที่แปลง short url เดิม เลิก support จะทำให้ลิงค์เปิดไม่ได้อีกเลย
- เช่น goo.gl จะเลิก support ในปี 2019 รายละเอียดอ่านได้ที่ https://goo.gl/
   5.1.4 ทุกผลงานต้องระบุลิขสิทธิ์มร.ชม. บนหน้า Website หรือระบบ ดังนี้ 
Copyright © 2016. Department of Computer, CMRU. All rights reserved. 

*เว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาของนักศึกษาในรายวิชาการศึกษาอิสระเท่านั้น*
   5.1.5 ไม่อนุญาตให้ส่ง URL เผยแพร่เป็น Google drive/Dropbox/ลิงค์ฝากไฟล์ อื่นๆ ยกเว้น Animation
ให้ปฏิบัติตามข้อที่ 5.1.3
   5.1.6 หากระบบใช้งานไม่ได้  เปิดเว็บไม่ได้ / อายุใช้งาน<1ปี / ใช้ได้บางหน้า / ไม่สมบูรณ์ จะไม่พิจารณาส่งเกรด
   5.1.7 หากจ้าง / ไม่ได้พัฒนาโปรแกรมเอง ถือว่า ทุจริตสอบ มีความผิดได้รับโทษสูงสุดตามระเบียบมร.ชม.
5.2 ไฟล์ Source Code โปรแกรมที่พัฒนาเอง 
- ทั้งหมดรวมใส่โฟลเดอร์ ส่งเป็นไฟล์ zip
- ยกเว้น Animation **ไม่ต้องส่ง Source Code**  
- หากมีการใช้โปรแกรมติดตั้งที่มีลิขสิทธิ์ / แจกฟรี ไม่ต้องอัพไฟล์ แต่ให้แจ้งชื่อโปรแกรม + version + ลิงค์ดาวน์โหลด  
- กรณีที่ทำการศึกษาอิสระเป็นกลุ่ม **ให้ส่ง Source Code เพียงคนเดียว** เพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่
(คนอื่นที่เหลือให้ส่งไฟล์ Readme.txt แจ้งว่า Source code ส่งร่วมกับใคร)
5.3 ไฟล์ PDF รูปเล่มการศึกษาอิสระฯ (.pdf)
1) ส่งเป็นไฟล์เดียวทั้งเล่ม (หน้าปกหน้าแรก ถึงหน้าสุดท้ายของเล่ม)
หน้าอนุมัติ ต้องมีลายเซ็นกรรมการสอบทั้ง 3 คน + หัวหน้าภาค และสแกนใส่ในไฟล์ให้เรียบร้อย
IS-3 ต้องมีลายเซ็น และสแกนใส่ในไฟล์ให้เรียบร้อย
2) ทุกหน้าให้ทำลายน้ำ ใช้ฟอนต์ Times New Roman ระบุว่าเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Copyright © 20XX Department of Computer CMRU **ทุกหน้า**
3) **ให้ป้องกันไฟล์ไม่ให้สามารคัดลอกข้อความ ภาพ หรือส่วนหนึ่งใดไปใช้ได้*
4) ตัวอย่างไฟล์เล่มสมบูรณ์ http://www.comdept.cmru.ac.th/project/download_detail.php?std_id=54123566 
5.4 ไฟล์โปสเตอร์
- ขนาดโปสเตอร์ สูง 120 เซนติเมตร กว้าง 90 เซนติเมตร 
- ขนาดตัวอักษร ไม่เล็กกว่า 0.5 เซนติเมตร โดยสามารถอ่านได้ชัดเจนในระยะห่าง 1 เมตร
- หัวเรื่อง ประกอบด้วย ตรามหาวิทยาลัย (บนมุมซ้าย) ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อภาควิชา
- เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ภาพหน้าจอโปรแกรม ผลการวิจัยและบทสรุป
- เอกสารอ้างอิง และส่วนสำคัญอื่นๆ เท่าที่จำเป็น เช่น คำขอบคุณ ฯลฯ จัดทำให้สวยงามได้ตามเนื้อหาของงานวิจัย

ตัวอย่าง หน้าจอการอัพโหลดไฟล์ต่างๆ


6. นำเอกสารส่งฝ่ายการศึกษาอิสระฯ
- ส่งเล่ม + ตรวจสอบรูปเล่มและไฟล์ที่ คุณกรีฑา ห้อง 262 ก่อนเวลา 12.00 น. !!!
ภายในวันที่ภาควิชาประกาศปฏิทินไว้ (หรือส่งล่วงหน้าได้ ก่อนวันที่ระบุในปฏิทิน ไม่เกิน 2-3 วัน)

สิ่งที่ต้องส่งดังนี้
6.1 หน้าอนุมัติการศึกษาอิสระฯ (ตัวจริง) (หน้าอนุมัติจำนวน 1 แผ่น
- มีลายเซ็น ของกรรมการสอบ และหัวหน้าภาควิชา ครบทุกท่าน
- ให้สแกนหน้าอนุมัติ (ตัวจริง) ที่มีลายเซ็นครบ ใส่ในไฟล์เล่มให้เรียบร้อย
6.2 แบบฟอร์มข้อเสนอแนะการศึกษาอิสระ (IS-2) (ตัวจริง) 
- มีข้อเสนอแนะการสอบบทที่ 1-3/4-5
- มีลายเซ็นกรรมการสอบ ครบทุกท่าน
6.3 แบบฟอร์มหนังสือรับรองการใช้งาน (IS-3) (ตัวจริง) จำนวน 1 แผ่น
- กรณีทำโปรแกรมให้หน่วยงานภายนอก ต้องให้หน่วยงานเซ็นลงนาม เพื่อยืนยันว่าได้รับอนุญาตให้ทำ (ไม่อนุญาตให้อ.ที่ปรึกษาเซ็นแทน)
- ให้สแกน IS-3 (ตัวจริง) ที่มีลายเซ็นครบ ใส่ในไฟล์เล่มเป็น**ภาคผนวก** ให้เรียบร้อย- เข้าเล่มตามรูปแบบที่กำหนด 
- จัดเรียงลำดับหน้าเอกสารตามรูปแบบ
- มีลายเซ็นกรรมการสอบ และหัวหน้าภาควิชา ครบทุกท่าน
6.4 ไฟล์อัพโหลดในระบบการศึกษาอิสระฯ ครบถ้วน สมบูรณ์ ใช้งานได้จริง (ให้อัพโหลดก่อนมาส่งรูปเล่ม)
- ลิงค์ URL ที่เผยแพร่ผลงาน + นำไปใช้จริง (ต้องมีอายุใช้งาน >= 1 ปี)
- ไฟล์ Source Code โปรแกรมที่พัฒนาเอง
- ไฟล์ PDF รูปเล่มการศึกษาอิสระฯ (หน้าอนุมัติต้องมีลายเซ็นกรรมการสอบและหัวหน้าภาค + หน้า IS3
ต้องมีลายเซ็นรับรองการใช้งาน + ต้องทำลายน้ำลิขสิทธิ์มร.ชม.ทุกหน้า ตั้งแต่หน้าปกถึงหน้าสุดท้าย)  
- ไฟล์โปสเตอร์ 
6.5 หลักฐานอายุโฮสติง (ให้ส่งเฉพาะนศ.ที่ใช้โฮสติงจากภายนอกมหาวิทยาลัย) 
- นศ.ที่ใช้โฮสติงจากภายนอก ที่หน่วยงานนำโปรแกรมไปใช้งานจริง **ต้องส่งหลักฐานอายุโฮสติง>=1 ปีนับจากวันที่ส่งเล่ม** ในวันส่งเล่มสมบูรณ์ด้วย
6.6 เซ็นส่งเล่ม


7. เซ็นชื่อเข้าสอบ Final วิชาการศึกษาอิสระฯ
- นศ.ที่ลงทะเบียนเรียนในเทอมปัจจุบัน **ทุกคน** ต้องเซ็นเข้าสอบ ที่แฟ้มหน้าห้อง 262 (แฟ้มสีแดง)
ภายใน วันแรกของการสอบ Final ในแต่ละเทอม (ดูปฏิทินวิชาการ)
**จะวางแฟ้มเซ็นเข้าสอบ ล่วงหน้า 5-6 วัน ก่อนถึงวันแรกสอบ Final **
- หากไม่มาเซ็นเข้าสอบจะออกเกรดอื่นไม่ได้ นอกจาก เกรด M (ขาดสอบ)  


ตัวอย่าง หน้าปก ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (กระดาษสีขาวมัน ตัวหนังสือสีทอง)


ตัวอย่าง หน้าปก ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (กระดาษสีขาวมัน ตัวหนังสือสีทอง)​


ตัวอย่าง หน้าอนุมัติ (TH Sarabun PSK ขนาด 16)


ตัวอย่าง กิตติกรรมประกาศ (คำว่า "กิตติกรรมประกาศ" TH Sarabun PSK ขนาด 18 | นอกนั้น TH Sarabun PSK ขนาด 16)


ตัวอย่าง บทคัดย่อ (คำว่า "บทคัดย่อ" TH Sarabun PSK ขนาด 18 | นอกนั้น TH Sarabun PSK ขนาด 16)


ตัวอย่าง สารบัญ (คำว่า "สารบัญ" TH Sarabun PSK ขนาด 18 | นอกนั้น TH Sarabun PSK ขนาด 16)


ตัวอย่าง สารบัญตาราง (คำว่า "สารบัญตาราง" TH Sarabun PSK ขนาด 18 | นอกนั้น TH Sarabun PSK ขนาด 16) ​


ตัวอย่าง สารบัญภาพ (คำว่า "สารบัญภาพ" TH Sarabun PSK ขนาด 18 | นอกนั้น TH Sarabun PSK ขนาด 16) ​


ตัวอย่าง สันปก (ให้พิมพ์ "ปีพ.ศ.ที่ส่งเล่มการศึกษาอิสระ" + เป็นปีเดียวกันกับที่ระบุในปกหน้า)


ตัวอย่าง โปสเตอร์


แบบฟอร์มข้อเสนอแนะการศึกษาอิสระด้านคอมพิวเตอร์ (IS-2)


แบบฟอร์มหนังสือรับรองการเผยแพร่ผลงาน (IS-3)


8. การอ้างอิง การอ้างอิงที่มาเอกสารแทรกในเนื้อความ บทที่ 1-5
ที่มา คู่มือการศึกษาอิสระฯ บทที่ 5 หัวข้อที่ 5.1.1 การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ระบบนาม-ปี คลิก
ที่มา http://bundit.skru.ac.th/21-4-60/datafile/thesis2554/thesis6.pdf
​- เมื่ออ้างอิงในเนื้อความแล้ว **ต้องนำไประบุในบรรณานุกรมด้วย**
1. การอ้างอิงเอกสาร 
ตัวอย่าง #1 ผู้แต่ง 1 คน เอกสารภาษาไทยให้ระบุ"ชื่อ-นามสกุล" เอกสารภาษาต่างประเทศให้ระบุเฉพาะ"นามสกุล"
- อ้างอิงก่อนข้อความ
สมชาย ใจดี (2559) กล่าวว่าการโปรแกรม คือ………………………
Blue (1996) ให้ข้อคิดว่า………………………
​- อ้างอิงหลังข้อความ
.......นำไปใช้งานได้ (สมชาย ใจดี, 2559)
​- อ้างอิงเฉพาะบางหน้าของเอกสาร
.......นำไปใช้งานได้ (เสาวนีย์ เหลืองขมิ้น, 2556: 13)
ตัวอย่าง #2 ผู้แต่ง 2 คน
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2554) กล่าวว่า………………………
.......มีการใช้งานหลากหลาย (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข, 2556)
ตัวอย่าง #3 ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุผู้แต่งทุกคนในการอ้างอิงครั้งแรก ครั้งต่อไปให้ระบุผู้แต่งคนแรกต่อด้วย "และคณะ"
กิตติพงศ์วิเวกานนท์, กําพล กิจชระภูมิ และไพบูลย์ภัทรเบญจพล (2547) กล่าวถึง………… (การอ้างอิงครั้งแรก)
กิตติพงศ์วิเวกานนท์และคณะ (2532) กล่าวถึง… (การอ้างอิงในครั้งต่อไปในแต่ละย่อหน้า)
McGehee, Gallagher, and Karaszi (1999) เสนอว่า
………… (การอ้างอิงครั้งแรกในงานที่เขียน)
McGehee et al. (1999) พบว่า...(การอ้างอิงในครั้งต่อไปในแต่ละย่อหน้า)

ตัวอย่าง #4 ผู้แต่ง >3 คน ให้ระบุผู้แต่งคนแรกต่อด้วย "และคณะ" หรือภาษาอังกฤษ "et al."
กิตติพงศ์ วิเวกานนท์ และคณะ (2552) กล่าวถึง………………………
McGehee et al. (1999) เสนอว่า…………
- หากระบุเฉพาะผู้แต่งคนแรกแล้วทำให้สับสนเนื่องจากปีพศ.ซ้ำกัน ให้ระบุผู้แต่งคนต่อมาเรื่อยๆ จนถึงชื่อที่ไม่ซ้ำกัน
สุนันท์ ตามถิ่นไทย, ดารณี ลักษณเกียรติ, เชาวน์เนตร บุญไชย และคณะ (2559)
สุนันท์ ตามถิ่นไทย, ดารณี ลักษณเกียรติ, ศรีอุษา ปาละวัธนกุล และคณะ (2559)
Redick, Gritzmacher, Laster et al. (1996)
Redick, Gritzmacher, Bailey et al. (1996)
2. การอ้างอิงเอกสารซ้ำกันในย่อหน้าเดียวกัน ไม่ต้องระบุปีที่พิมพ์ในการอ้างตั้งแต่ครั้งที่ 2 
ตัวอย่าง #1 ผู้แต่ง 1 คน
สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์ (2555) กล่าวถึง………………………นอกจากนี้ สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์ ยังให้เหตุผลอื่น………………………
McGehee et al. (1999) พบว่า…………นอกจากนี้ McGehee et al. ยับพบอีกว่า…………
ตัวอย่าง #2 ผู้แต่ง 3 คน
กิตติพงศ์ วิเวกานนท์, กำพล กิจชระภูมิ และไพบูลย์ ภัทรเบญจพล (2557) กล่าวถึง………………(การอ้างอิงครั้งแรก)
กิตติพงศ์ วิเวกานนท์ และคณะ (2552) กล่าวถึง………………………(การอ้างอิงในครั้งต่อไปในแต่ละย่อหน้า)
นอกจากนี้ กิตติพงศ์ วิเวกานนท์
และคณะ ยังได้เสนอแนะ………………………(การอ้างอิงครั้งต่อไป)
McGehee, Gallagher, and Karaszi (1999) suggested that………… (first citation in text)
McGehee et al. (1999) found………… (subsequent first citation per paragraph thereafter)
McGehee et al.
also found………… (omit year after first citation within a paragraph)
3. การอ้างอิงเอกสารที่ผู้แต่งเป็นสถาบัน
ตัวอย่าง #1
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (2553) กล่าวถึง………………………
.......นำไปใช้งานได้ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ, 2556)
.......นำไปใช้งานได้ (กรมการค้าภายใน, 2556)
ตัวอย่าง #2  ถ้าหน่วยงานใช้ชื่อย่อ
- การอ้างอิงครั้งแรก
.......นำไปใช้งานได้ (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม [ส.ป.ก.], 2552)
- การอ้างอิงครั้งต่อ ๆ ไป
.......นำไปใช้งานได้ (ส.ป.ก., 2550)
4. การอ้างอิงสองทอด ในกรณีที่ไม่สามารถสืบค้นจากเอกสารต้นฉบับ
ตัวอย่าง
.......นำไปใช้งานได้ (กัญจนวลัย นนทแก้ว, 2546 อ้างถึงใน ดนัย เทียนพุฒ, 2559)
.......นำไปใช้งานได้ (ชัยณรงค์ แก้วอยู่, 2554 อ้างถึงใน Lawdermilk and Laitas, 2015)
5. การอ้างอิงเอกสารที่ ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
ตัวอย่าง
.......นำไปใช้งานได้ (เดชา แก้วชาญศิลป์, ม.ป.ป.)
6. การอ้างอิงเอกสารที่ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง  
ตัวอย่าง
.......นำไปใช้งานได้ (นิรนาม, 2557)
.......นำไปใช้งานได้ (Anonymous, 2014)
7. การอ้างอิงการสื่อสารระหว่างบุคคล อาจเป็นจดหมาย บันทึก การสนทนา การสัมภาษณ์
ตัวอย่าง
.......นำไปใช้งานได้ (ปรีดี พนมยงค์, จดหมาย, 10 มกราคม 2524)
.......นำไปใช้งานได้ (อานันท์ ปันยารชุน, สัมภาษณ์, 3 กันยายน 2539)
8. การอ้างอิงจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ อนุญาตให้อ้างอิงจาก Website ของสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ
บริษัท หรือหน่วยงานเอกชนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลจาก Website ส่วนบุคคล
ตัวอย่าง #1 มีชื่อผู้จัดทํา/ผู้ผลิต/ชื่อสถาบัน/หน่วยงานรัฐ/เอกชน
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ (2552) ระบุว่า สารเคมีอันตราย………………………
.......ทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม(กรมควบคุมมลพิษ, 2552)
ตัวอย่าง #2 ไม่มีผู้เขียนบทความ ให้ระบุชื่อเรื่องแทน
.......จากแบคทีเรียและเชื้อไวรัส (อาหารและสุขภาพ, 2552)


9. การอ้างอิงข้อมูลภาพ บทที่ 1-5 ให้ระบุใต้ภาพและจัดกึ่งกลาง
ที่มา http://home.kku.ac.th/phlib/doc/LibSkills/RefKKUstyle.pdf
ที่มา http://203.131.210.100/research/wp-content/uploads/2012/12/ImpactFactorAndSearch.pdf
ที่มา http://www.mwit.ac.th/~mwitpro/form/new/pdf/write_link.pdf
- ใช้ระบบอ้างอิงอย่างใดอย่างหนึ่ง **เหมือนกันทั้งเล่ม** + ต้องนำไประบุในบรรณานุกรมด้วย
ตัวอย่าง #1


                ภาพที่ 1.1 ใบปะหน้าขอสอบ          
                   
ที่มา: สมชาย ใจดี (2558)


10. การอ้างอิงข้อมูลตาราง บทที่ 1-5 ให้ระบุใต้ตารางและจัดชิดซ้าย
ที่มา http://home.kku.ac.th/phlib/doc/LibSkills/RefKKUstyle.pdf
- ใช้ระบบอ้างอิงอย่างใดอย่างหนึ่ง **เหมือนกันทั้งเล่ม** + ต้องนำไประบุในบรรณานุกรมด้วย
ตัวอย่าง #1

ตารางที่ 1.1 ปฏิทินเอกเทศ

ที่มา: สมชาย ใจดี (2558)


11. บรรณานุกรม
ที่มา คู่มือการศึกษาอิสระฯ บทที่ 5 หัวข้อที่ 5.2 การเขียนบรรณานุกรม คลิก
- ให้เรียงลำดับรายชื่อผู้แต่งตามลำดับอักษรตัวแรก + ต้องพิมพ์ให้ถูกต้องตามรูปแบบ
- ในการพิมพ์บรรทัดที่สองและต่อๆ ไปของรายการเดียวกันให้ย่อหน้าเข้าไป 8 ช่วงตัวอักษรพิมพ์
1. หนังสือ(Books)
ตัวอย่าง #1 ผู้แต่ง 1 คน
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร:สมาคมสังคมศาสตร์
        แห่งประเทศไทย, 2513.
​Katz, William A. Introduction to Reference Work. 2 Vols.New York:McGraw – Hill Book Co.,
        1974.

ตัวอย่าง #2 ผู้แต่ง 2 คน
วีกูล วีรานุวัติ และกนกนาถ ชูปัญญา. เคมีคลินิก. กรุงเทพฯ:โครงการตาราศิริราช
        คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, 2525.
ตัวอย่าง #3 ผู้แต่ง 3 คน
กิตติพงศ์ วิเวกานนท์, กำพล กิจชระภูมิ และไพบูลย์ ภัทรเบญจพล. ระบบฐานข้อมูล.
        กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ล, 2535.
ตัวอย่าง #4 ผู้แต่ง >3 คน
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และคณะ. ประชากรศึกษา. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจากัดอักษรบัณฑิต,
        2520.

2. วิทยานิพนธ์ (Thesis)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การหาสูตรเศรษฐมิติทางการศึกษาและกระสวนความเจริญที่สมดุล
        สาหรับประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2513.
Vongasvan, N. Evaluation of hormonal response to stress during tooth extraction in
        Thai patiente.
M.S. Thesis, Mahidol University, 1985.

3. สิ่งพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์(Electronic Sources)
สุรนันท์ น้อยมณี. 2542. ปัญหา ค.ศ. 2000 คืออะไร. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
        http://www.digital.eng.com (30 ตุลาคม 2542).
Chiang Mai University. 1997. Academic support and service units. [Online]. Availble
        http://www.cmu.ac.th/html/assu.html (1September 1999).
4. การสัมภาษณ์
สัมภาษณ์ ประจวบ ศรีภิรมย์ กำนันตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (เก็บข้อมูลช่วงการศึกษาวิจัย เรื่อง
        พฤติกรรมการกินของคนภาคเหนือ, กรกฎาคม 2528 – มิถุนายน 2529 โครงการศึกษาของสถาบันวิจัย
        โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล).
5. วารสาร (Journals)
มนูญ วงศ์นารี. การพิจารณาองค์การ พิจารณาในแง่ของค่านิยมกับพฤติกรรมการบริหาร
        ของนักบริหารไทย. วารสารข้าราชการ. 2519, 21, 20-34.
Uza B., Gaboz S., Kovals A., Vick R., Cucuismu M. Serum zinc and copper in
        hyperlipoproteinemia. Biol. Trace Element Res. 1985; 8 : 167 – 72.

6. รายงาน (Reports)
จุฬาพร โชติช่วงนิรันดร์. รายงานการวิจัยเรื่อง ประวัติศาสตร์หมู่บ้านคาม่วง, รายงานสังคมศาสตร์
        โครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กรกฎาคม 2529, 54 – 57.
Kabeila, A.P. 1970. Bifurcation of Eccentrically Loaded Members and Stiffened
        Plates,
Technical Report AFFDL,
Wright-Patterson, Ohio.